
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปกติ)
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย): หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และมีทักษะด้านฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ และโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ในการประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ให้มีทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ การปฏิบัติเชิงวิชาชีพ การคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้ การสื่อสาร และ การจัดการ
- เพื่อปลูกฝังนักศึกษาให้ทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ มีความพร้อมในการออกไปทำงานในสถานประกอบการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะบรรลุได้โดยที่บัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรมีผลลัพธ์การเรียนรู้ดังนี้
-
สามารถใช้หลักการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ในการวิเคราะห์และออกแบบเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้
- ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมได้
- วิเคราะห์และออกแบบการประมวลผลสัญญาณ ส่วนประกอบและฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์ได้
- วิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์ ขั้นตอนวิธีการคำนวณและแก้ปัญหาที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้
-
สามารถใช้ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี และเครื่องมือทางวิศวกรรมในการสร้างและประเมินผลงาน เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้
- พัฒนาส่วนประกอบและฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์ได้
- พัฒนาเครื่องมือทางซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์ และฐานข้อมูลบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายได้
- ออกแบบ ติดตั้ง ปรับแต่ง และบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายและอุปกรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายได้
- พัฒนาแบบจำลองข้อมูลด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่องหรือวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาได้
-
สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจและการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้
- ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ กลั่นกรอง และสรุปข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้
- พัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาได้
-
สามารถสื่อสารผลงาน องค์ความรู้และความเข้าใจเชิงเทคนิคและเชิงทั่วไปได้
- เขียนเพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพตามพื้นฐานของผู้อ่าน
- นำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลพร้อมสื่อประกอบอย่างมีประสิทธิภาพตามพื้นฐานของผู้ฟัง
-
สามารถปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ มีความพร้อมในการทำงานในสถานประกอบการ
- ตระหนักถึงจริยธรรมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ตั้งเป้าหมาย คิดและออกแบบการแก้ปัญหา วางแผนงาน จัดการให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
- รับผิดชอบงานของตนเอง และทำงานตามบทบาทและหน้าที่ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
โครงสร้างหลักสูตร
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
- วิชาแกนทางวิศวกรรม 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะด้าน 51 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 12 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต รวม 130 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตรเต็มเวลา โดยปกติใช้เวลา 4 ปีการศึกษา และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
อัตราค่าเรียน
- ค่าบำรุงการศึกษาเหมาจ่าย 30,000 บาท/ต่อภาคการศึกษา หรือ 60,000 บาท/ปีการศึกษา
- ค่าลงทะเบียนหน่วยกิตละ 1,500 บาท (ในภาคการศึกษาฤดูร้อน)
- ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 240,000 บาท/คน
วิชาเลือกในหลักสูตร
- วิชาเลือกด้านแบบจำลองคณิตศาสตร์การคำนวณ และการเรียนรู้จากข้อมูล มีทั้งหมด 8 วิชา
- วิชาเลือกด้านวิธีการและระบบซอฟต์แวร์ระบบโต้ตอบและหุ่นยนต์ มีทั้งหมด 7 วิชา
- วิชาเลือกด้านระบบข้อมูล มีทั้งหมด 5 วิชา
- วิชาเลือกด้านการประมวลผลสื่อประสมและการสร้างภาพเคลื่อนไหว มีทั้งหมด 6 วิชา
- วิชาเลือกแบบหัวข้อพิเศษ มีทั้งหมด 4 วิชา